Readspread.com

News and Article

รพ.เด็ก เสริมเกราะ “โรคไข้เลือดออก”

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)  เสริมเกราะภูมิคุ้มกัน ๓ ชั้น ก่อนมหัตภัยเงียบ “โรคไข้เลือดออก”ระบาดไม่ว่าที่ไหน ไม่ว่าฤดูไหน เพียงแค่มีน้ำขังก็เป็นแหล่งเพาะมหัตภัยตัวร้าย“ยุงลาย” พาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคฮิต ติดชาร์ตที่พรากชีวิตประชากรโลกตลอดกาล นับเป็นภัpคุกคามที่ของเด็กและผู้ใหญ่ ห้ามประมาท

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “โรคไข้เลือดออกนับเป็นโรคประจำถิ่นที่มาพร้อมกับเพชฌฆาตตัวน้อย “ยุงลาย” ที่มีอายุสั้นเพียง 7 วันเท่านั้นซึ่งหลายคนตั้งคำถามว่าโรคไข้เลือดออกจะมาพร้อมสายฝนในฤดูฝนใช่หรือไม่แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นโรคไข้เลือดออกสามารถเป็นได้ทุกฤดูกาลขอเพียงมีแหล่งน้ำขังที่สะอาดก็สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้แต่ในฤดูฝนมีความเสี่ยงสูงขึ้นเพราะปริมาณน้ำมากทำให้เกิดแหล่งน้ำขังในหลายพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศจากสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคในปี 2558 มีผู้ป่วยทั่วประเทศไทย 146,082 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต154 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมาก คือ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10 –14 ปีแต่สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออก คือกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วนหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้นซึ่งผู้ป่วยที่เข้าข่ายความเสี่ยงนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์”

โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในฐานะโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญดูแลรักษาโรคเด็กที่ยุ่งยาก ซับซ้อนเด็กป่วยถูกส่งต่อมาจากทั่วประเทศพร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านไข้เลือดออกโดยเป็นผู้นำในการทำแนวทางการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยลดการตายหรือลดความพิการที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกโดยได้รับการยอมรับในระดับโลกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHOCollaboration Center ด้านการดูแลรักษาไข้เลือดออก
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคไข้เลือดอออก หรือการเสริมเกราะคุ้มกันที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่นแหล่งน้ำขังในบ้านการป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุงยังเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การเสริมเกราะคุ้มกันที่ 2คือการไปพบแพทย์เมื่อป่วย เป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดภาวะช็อกเมื่อไข้เริ่มลดพ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาท ควรติดตามอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย ซึมรับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ปวดท้องถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วก็ควรต้องไปพบแพทย์
หากพบ  9 อาการเสี่ยงที่ไม่ควรประมาท ควรพบแพทย์ 
1. ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
2. คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
3. ปวดท้องมาก
4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
5. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ
6. กระหายน้ำตลอดเวลา
7. ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
8. ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวเป็นลายๆ
9. ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน

About Post Author

เขียนความคิดเห็น

Copyright © Readspread.com ติดต่อฝ่ายข่าว Tel.089-922-7859 Email/[email protected] | Newsphere by AF themes.