APCO รับมือสังคมผู้สูงอายุเชิงรุกด้วยสุขภาพที่ยั่งยืน
จากสถิติข้อมูลในปี 2019 จำนวนประชากรโลก 7,713 ล้านคน พบว่า ประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงถึง 1,016 ล้านคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติยังได้คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลก
สำหรับประเทศไทยบ้านเราช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในวัยนี้ให้มากขึ้น คาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด
ข้อมูลของ United Nations World Population Ageing กล่าวว่า ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ที่ไม่สามารถใช้แรงงานตนเองเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตัว ซึ่งก็คือเด็กและผู้สูงอายุ มีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงานไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
- สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป
- สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ขึ้นไป
จึงเป็นเหตุผลที่คนไทยอย่างเราจะต้องตระหนักและรับรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์นี้ เนื่องจากสังคมไทยกำลังจะเข้าสังคมผู้สูงอายุในปี 2568 หรืออีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าแล้ว ตามสถิติต่างๆ จะเป็นไปได้ที่เราคนไทยจะต้องเตรียมการรับมือในสถานการณ์ดังต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน
- อายุของคนไทยจะยืนยาวขึ้นปัจจุบันมีการเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 75 ปี แต่ในปี 2568 อายุของคนไทยโดยประมาณจะอยู่ที่ 85 ปี ยิ่งอายุยาวนานขึ้น ทำให้ยิ่งต้องเตรียมเงินเยอะขึ้น
- ค่าครองชีพทำให้ของแพงขึ้น ด้วยเงินเฟ้อในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 4% ปัจจุบันข้าวจานละ 40 บาท อีก 20 ปีข้างหน้าเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงจานละ 90 บาท ทุกอย่างแพงขึ้น 2 เท่า เงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้น ทำให้ค่าเงินในอนาคตลดลงด้วย
- ค่ารักษาพยาบาลมีแต่แพงขึ้นปีละ 5-8% ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเบียดเบียนเงินเก็บสำหรับผู้สูงวัยมากที่สุด ผู้สูงอายุเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลต่อการเข้าโรงพยาบาลหนึ่งครึ่ง อยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท และจะสูงกว่าคนไม่สูงอายุอยู่ประมาณหมื่นกว่าบาท
- โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง ยิ่งครอบครัวยุคใหม่มีลูกคนเดียวมากขึ้น จำนวนประชากรวัยทำงานก็มีน้อยลง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง ทำให้เศรษฐกิจก็จะโตช้าลงด้วย
- เงินเก็บหลักเกษียณไม่เพียงพออีกต่อไป ปัญหานี้อาจจะน่ากลัวที่สุด ลองคิดแบบง่ายๆ ถ้าเราอายุ 40 ปี ต้องการเงินใช้หลังเกษียณปีละ 240,000 บาท แต่มูลค่าเงินในปัจจุบัน ต้องการเกษียณอายุ 60 ปี หรือ อีก 20 ปี จากเงิน 240,000 บาทที่จะต้องมี จะกลายเป็นเงิน 530,000 บาทเนื่องจากเงินเฟ้อ 4% ต้องการมีเงินใช้ไปจนสิ้นอายุไข 80 ปี หรือ อีก 20 ปี ทำให้อาจจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 10 ล้านบาท
- สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก อันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ใน ASEAN และอีกไม่ถึง15 ปีข้างหน้า ไทยจะแซงสิงคโปร์
- เกิดโรคสุดฮิตในผู้สูงอายุ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 ได้ระบุว่า ทุกๆ 4 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากมะเร็ง อยู่ 1 คน, ทุกๆ 6 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจ อยู่ 1 คน และทุกๆ 6 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดในสมองแตก อยู่ 1 คน และคนที่มีอายุมากกว่า 90 ปี จะมีโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ถึง 30% โดยโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ของผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า
ในมิติที่อยากโฟกัสเป็นพิเศษ คือ สุขภาพของผู้สูงวัย ปัจจุบันนอกจากฝากความคุ้มครองชีวิตไว้กับประกันชาติ ทั้ง 30 บาทรักษาทุกโรค ประกันสังคม หรือลามไปถึงเบี้ยสูงอายุ ก็คงไม่อาจคุ้มครองได้ในระดับที่ครอบคลุมความช่วยเหลือ และรวดเร็วดังกล่าวก่อนนำไปสู่จุดที่ป่วย ทุกคนควรป้องกันก่อนป่วย ด้วยนวัตกรรมการชะลอวัย อย่าง “นวัตกรรมวัฒนชีวา”
ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัย Operation BIM ให้ความเห็นว่า ต้นตอของความชราคือโครโมโซมส่วนที่เรียกว่า Telomere (ส่วนปลายของโครโมโซมที่ยิ่งยาวขึ้น ก็จะทำให้มีการย้อนวัย/ชะลอวัย และอายุยืนขึ้น) ซึ่งจากการผสมผสานความรู้วิทยาศาสตร์ เข้ากับวิทยาการภูมิคุ้มกัน คณะนักวิจัยฯ พบสูตรที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความยาวของ Telomere มากขึ้นอีก สามารถเสริมสร้างความยาวของเทโลเมียร์ ทำให้ย้อนวัย เป็นหนุ่มเป็นสาว คงสุขภาพให้แข็งแรง โดยนวัตกรรมวัฒนชีวาผลิตจากสารสกัดธรรมชาติจากพืชกินได้ 5 ชนิด คือ มังคุด ฝรั่ง ถั่วเหลือง งาดำ บัวบก และผ่านการวิจัยจากคณะนักวิจัย Operation BIM
คุณสมบัติที่โดดเด่นของนวัตกรรมวัฒนชีวา คือ นอกจากเพิ่มความยาวเทโลเมียร์แล้ว ยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันช่วยกำจัดมะเร็ง เหมาะแก่ผู้ที่กำลังฟื้นฟูร่างกายจากอาการมะเร็ง และป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นใหม่
นอกจากนี้เมื่อเทโลเมียร์ยาวขึ้นยังส่งผลช่วยให้ผิวพรรณสดใส อ่อนกว่าวัย ลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตก ลดการเสื่อมของตับและไต ลดอาการสมองเสื่อม ลดอาการแพ้ภูมิตัวเอง ลดภาวะกระดูกพรุน ลดอาการรูมาตอยด์ และลดอาการอักเสบเรื้อรัง
ดังนั้นการหาตัวช่วยด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจากธรรมชาติ ที่ปลอดภัย และครอบคลุมปัญหาสุขภาพต่างๆ นั้นสำคัญ ถือเป็นการช่วยผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข ถ้ามีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ ก็สามารถมีส่วนร่วมกับครอบครัว และสังคมได้อย่างยั่งยืน