EF เด็กไทยกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืนสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ขณะนี้ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปีต้องการให้ประเทศเราก้าวข้ามผ่านความเป็นประเทศรายได้ระดับกลางสู่ประเทศรายได้สูง บริษัท ธุรกิจ โรงงานองค์กรหน่วยงานต่างๆเติบโตแข่งขันหากำไร เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้กลับเป็นการพัฒนาที่ไม่ยังยืน สถาบันครอบครัวกลับอ่อนแอลง วัฒนธรรมไทยวิถีชีวิตแบบไทยเสื่อมหายสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับกลายเป็นเศรษฐกิจที่ไม่เป็นมิตรกับครอบครัวเด็กต้องตกเป็นเหยื่อจากธุรกิจและเทคโนโลยีที่มีผลเสียแต่เม็ดเงินทางธุรกิจสูง ครอบครัวลดขนาด แม่ไม่สามารถให้นมบุตร ไม่มีเวลาเล่นกับลูกปล่อยให้อยู่กับมือถือตั้งแต่เป็นทารก เกิดครอบครัวนมผง ครอบครัวมือถือเด็กถูกส่งไปอยู่กับปู่ย่าตายายในชนบทเกิดครอบครัวแหว่งกลางครอบครัวหย่าร้างสูงขึ้น เด็กถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม
พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงทำร้ายเด็กหากไม่เสียชีวิตไปก่อนเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่สมองเสียหายจากการได้รับความเครียดแบบรุนแรงและยาวนาน ทำให้พฤติกรรมถดถอยและเบี่ยงเบนนอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อสุขภาพและสมองเด็กซ่อนเร้นอยู่รอบตัวการส่งเสริมการลงทุนด้วย EIA fast track
เสี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมและสร้างมลพิษต่อสมองเด็ก เด็กติดเกมส์อีสปอร์ต เล่นจนเสพติดขาดเรียนขาดการพัฒนาทั้งร่างกายและความคิดการเติบโตสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นแต่เมืองกลับกลายเป็นเมืองที่ไม่สมบูรณ์ขาดแคลนการลงทุนพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่ดี
เกิดชุมชนแออัดซ่อนเร้นด้วยกลุ่มคนยากจนเมือง ที่มีไว้เพื่อเป็นแรงงานหรือให้บริการความสุขสบายแก่ผู้คนในเมืองที่มีสถานะที่ดีกว่าความยากจนความเหลื่อมล้ำของคนในเมืองเติบโตพร้อมกับการเติบโตของเมืองไม่ยกเว้นแม้แต่เด็กในครัวเรือนยากจนมีพัฒนาการล่าช้าไอคิวต่ำ มีหนังสือเด็กในบ้านน้อยกว่าได้รับประสบการณ์เลวร้ายในครอบครัวมากกว่าเช่นพ่อแม่แยกทาง ติดยาติดเหล้า ตีกัน หรือติดคุกมีความเสี่ยงมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่าสามเท่า
ดร.นุชนาฏ รักษี รองผอ ฝ่ายวิจัยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่าทางสถาบันได้ร่วมกับบริษัทดาวและ RLG ทำการศึกษาEFในเด็กปฐมวัย ที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี จำนวน 136 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดห้วยโป่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตาบลมาบข่าพัฒนา จังหวัดระยอง พบว่าพ่อแม่ 77.9% ทำกิจกรรมร่วมกับลูกเพียง 1 ครั้ง/สัปดาห์ เด็ก 31.6%ดูทีวีมากกว่า 2 ช.ม/วัน 5.9% พบความรุนแรงในครอบครัวจากการสอบถามพ่อแม่พว่าลูกพัฒนาการปกติสมวัยเพียง 72.0%
แต่จากการประเมินโดยการตรวจพบว่า เด็กมีพัฒนาการล่าาช้าถึง 74.4 %และภายหลังเด็กและครอบครัวทั้งหมดเข้าสู่โปรแกรมการพัฒนา EFของทางสถาบัน เด็กมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นจากจำนวน 25.6% เป็น53.3 %ของเด็กทั้งหมด ด้านการทดสอบระดับทักษะ EF ก่อนการส่งเสริมทั้ง2กลุ่ม พบว่ามีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เด็กตามวัย
ควรได้รับการส่งเสริมถึง 37.4%ในกลุ่มทดลองหลังการส่งเสริมเด็กมีทักษะ EF ในระดับปกติ
เพิ่มขึ้นจากจำนวน 48.4% เป็นจำนวน 86.5% ดร.ศรัล หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ได้ศึกษาเด็กนักเรียนในจังหวัดนครปฐมโดยประเมินองค์ประกอบของความสามารถ EFการคิดเชิงบริหารของสมองทั้ง 5 ด้าน ในเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 10-12ปี จำนวน 428 ราย โดยองค์รวมพบว่าเด็กนักเรียนมีระดับความสามารถEF ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปกติเพียงร้อยละ 51.9และสมควรได้รับการส่งเสริมร้อยละ 48.1กระบวนการพัฒนา EF ที่ใช้ ได้ส่งเสริมสร้างความตระหนักให้พ่อแม่
ครูเห็นความสำคัญในบทบาทของตนเองในเป้าหมายการพัฒนาเด็กให้เก่ง ดีมีความสุข พ่อแม่ ครู ให้ความรัก ความอบอุ่นและความไว้วางใจมีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กสร้างกิจกรรมที่มีเป้าหมาย ที่จะสร้างโอกาสให้เด็กได้คิด-ทำ -ลองถูกผิดด้วยตนเอง -สรุปทบทวน –และปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเองบนฐานการชักชวนให้น่าสนใจ-ทำให้สนุกคล้ายการเล่น-ให้กำลังใจให้เด็กได้ทำจนบรรลุจุดมุ่งหมาย ให้เด็กได้รู้สึกสำเร็จ
และได้รับการชมแชย พ่อแม่ ครู เพิ่มเวลาคุณภาพดังกล่าวนี้กับเด็กทุกวันจัดสภาพสภาพแวดล้อม วัสดุ
อุปกรณ์ที่เอื้อและให้โอกาสให้เด็กได้สนใจที่จะทำ ได้เลือก ตัดสินใจและปลอดภัย จัดพื้นที่การเรียนรู้แก่เด็กและครอบครัว (Family and ChildSpace) ให้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งในบ้าน โรงเรียน ชุมชนบริษัทเอกชน โรงงาน ให้เด็กได้เรียนรู้ในทุกพื้นที่
สร้างวินัยเชิงบวก หลีกเลี่ยงการตีตราลงโทษอย่างรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจเพราะความเครียดส่งผลให้ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กลดลงและสอนให้เด็กเข้าใจอารมณ์ตนเองและผู้อื่นควบคุมเวลาการใช้สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษนา สื่อออนไลน์ต่างๆในการกระตุกใจให้ตระหนัก และให้ความรู้ต่างๆ เช่น“ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทุกชนิด”,“ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยลำพัง”
“ไม่ควรใหเด็กดูทีวีเล่นเกมมากเกินไปเพราะส่งผลต่อพัฒนาการล่าช้า”มีการประสานการส่งเสริมเด็กร่วมกันทั้งที่บ้านและโรงเรียนเช่นกิจกรรมครูพบพ่อแม่รายบุคคลอย่างน้อยปีละ 2ครั้งเพื่อร่วมพัฒนาจุดเด่น และแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆของเด็กและมีระบบการส่งเสริม ส่งต่อและติดตามเป็นระยะในเด็กกลุ่มเสี่ยงต่างๆ
เด็กต้องการจุดเริ่มต้นของชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมอย่างน้อยสามพันวันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ในครรภ์ถึงอายุแปดปีเด็กต้องการการปกป้องทั้งร่างกายและสมองของเขาจากปัจจัยเหนือพันธุกรรมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (epigenetics) ไม่ว่าจะเป็นสารพิษความเครียดของมารดา
ต้องการการดูแลและส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด การเลี้ยงดูเชิงบวกให้การดูแลใกล้ชิด ส่งเสริมการเรียนรู้การช่วยตนเองการส่งเสริมการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัยนี้ต้องมีมาตรฐานเท่าเทียมทุกระบบไม่ว่าจะเป็นการดูแลในครัวเรือน โดยญาติ โดยข้างบ้าน
โดยบริษัทที่ส่งผู้บริบาลเด็ก เนอสเซอรี่ ศูนย์เด็กเล็ก หรือ โรงเรียนอนุบาลไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือเป็นเด็กพิเศษเด็กต้องการพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ พื้นที่เล่นพื้นที่พัฒนาของพวกเขา (child space)พื้นที่ทางกายภาพต้องมีมากว่าในบ้านและในโรงเรียน ชุมชนบริษัทห้างร้าน
หน่วยงานต่างๆในชุมชนต้องรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาออกแบบพื้นที่ใหม่ กิจกรรมใหม่
และผู้ดูแลหรือโค๊ชเด็กพันธ์ใหม่เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และการดูแลเด็กในชุมชนในสังคมร่วมกัน เด็กต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการคิดต้องมีโอกาสได้รับการส่งเสริมให้เป็นนักคิดนักออกแบบเพื่อพัฒนากิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเองและชุมชน ธุรกิจ องค์กรโรงงานต้องส่งเสริมภาวะครอบครัวเข้มแข็งส่งเสริมการดูแลเด็กแก่คนในองค์กร
นโยบายหลักทางทรัพยากรบุคคลขององค์กรและธุรกิจต้องมุ่งเน้นที่การสร้างความเป็นมิตรกับครอบครัวด้วยการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนตามวาระการพัฒนาที่ยังยืน SDG 2030 นั้นต้องมีเป้าหมายที่จะทำให้ สุขภาวะและศักยภาพของเด็กดีขึ้นขณะเดียวกันกระบวนการพัฒนาที่ใช้กลยุทธการยึดสุขภาวะและศักยภาพของเด็กเป็นศูนย์กลางจะนำไปสู่การออกแบบกระบวนการพัฒนาแนวใหม่ที่เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน