Readspread.com

News and Article

“ประเทศไทยเวลาตรง” โครงการคุณภาพ

มว.สร้างปรากฏการณ์ ประเทศไทยเวลาเดียวตรงกันทั้งประเทศ ยกระดับการสื่อสารสร้างสังคมคุณภาพ พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

“ประเทศไทยเวลาตรง” โครงการคุณภาพ อีกหนึ่งความสำเร็จของ ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ที่สร้างปรากฏการณ์ประเทศไทยเวลาเดียวกัน ตรงกันทั้งประเทศ โดยมุ่งมั่นที่เข้าไปช่วยพัฒนาคุณภาพให้กับระบบสื่อสารโทรคมนาคม

ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการกำหนดให้“สถานีวิทยุที่ใช้ระบบ FM/RDS (Radio Data System)ส่งสัญญาณข้อมูล (Synchronize)ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ”นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการพัฒนา ระบบเวลามาตรฐานของเทคโนโลยีการสื่อสาร ในประเทศไทยอันเป็นสื่อกลางที่ช่วยประสาน ส่งเสริม และผลักดันศักยภาพ เพื่อสังคมคุณภาพสร้างผลกระทบให้แก่กิจกรรมต่างๆของประเทศดำเนินไปได้อย่างมีความสอดคล้องเข้าจังหวะ (Synchronous) และมีประสิทธิภาพการใช้งานเวลามาตรฐานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารให้ได้ผลมีประสิทธิภาพ และรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตตลอดจนกิจกรรมต่างๆภายในประเทศจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านเวลาของประเทศที่ถูกต้องตรงกันทั้งหมด เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้างของระบบ

ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบที่ทำให้ฐานเวลาของประเทศมีความถูกต้อง ตรงกัน ทำให้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากมาย เช่นการต้องเผชิญกับผู้บุกรุกทางไซเบอร์ การควบคุมตารางการบินการควบคุมเวลาในการซื้อขายหลักทรัพย์(หุ้น)การโอนเงินข้ามเขตเวลาของธนาคาร ไปจนถึงด้านระบบอาวุธและความมั่นคงทางทหารนอกจากนี้การโครงสร้างพื้นฐานด้านเวลาที่ดีจะเป็นปัจจัยหลักเอื้อประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพให้กับภาคอุตสาหกรรม และการบริการต่างๆ อีกด้วย เช่นบริการขนส่งมวลชน บริการจอดรถ โรงเรียน โรงพยาบาลหรือแม้แต่การบันทึกเวลาทำงานของสถานประกอบการต่างๆเพื่อให้กิจกรรมทางสังคมดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติจึงมีแนวคิดในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านเวลาของไทยตรงกันหมดทั้งประเทศ

โดยแบ่งภาคของการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ เริ่มตั้งแต่ ปี 2548-2562 โดยมีลำดับเหตุการณ์ดังต่อไปนีระยะที่1 ปี พ.ศ. 2548-2552มว. จับมือ 5 พันธมิตร ได้แก่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (สวทช.)สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (ดร.) กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสำนักนายกรัฐมนตรีในการร่วมมือกันพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเวลาผ่านโครงการ “ประเทศไทยเวลาตรง”ผลผลิตในโครงการระยะนี้คือได้ทำการพัฒนาระบบ Time Server พัฒนาระบบ Time CodeBroadcast ออกแบบ Microchipเพื่อรับคลื่นสัญญาณและแสดงผลเป็นนาฬิกาพัฒนาต้นแบบนาฬิกาที่สามารถรับคลื่น Time Codeต้นแบบเพื่อการผลิต

ระยะที่2 ปี พ.ศ. 2553-2556
ร่วมมือกับกองทัพอากาศ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(บมจ. อสมท.)ในการถ่ายทอดเวลามาตรฐานประเทศไทยผ่านทางวิทยุในระบบFM/RDS ตามหัวเมืองเศรษฐกิจหลักทั่วประเทศ กว่า 42 สถานีอีกทั้ง ร่วมมือกับ บริษัท ทีโอที จำกัดมหาชนในเรื่องของความถูกต้องของเวลาและการถ่ายทอดความถูกต้องของเวลามาตรฐานผ่านโทรศัพท์พื้นฐานและความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)เรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลเวลามาตรฐานของประเทศไทยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านเวลาในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ผลผลิตของโครงการในระยะนี้คือ
1.มีการทดลองออกอากาศส่งเวลามาตรฐานในประบบ FM/RDSในหัวเมืองทางเศรษฐกิจสำคัญทั่วประเทศรวม 42 สถานีโดยร่วมมือกับ ทอ. และ อสมท. เป็นสถานีฐานในการเผยแพร่
2.มว. ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC)สามารถประดิษฐ์เครื่องรับนาฬิกาเครื่องต้นแบบที่เป็นเครื่องรับสัญญาณเวลามาตรฐานในระบบ FM/RDS ได้โดยมีหน่วยงานของรัฐนำไปทดลองใช้งานจริง เช่น NECTECมูลนิธิชัยพัฒนา และ กองทัพอากาศ (ทอ.)

ระยะที่3 ปี พ.ศ. 2557-2559มว. สามารถประดิษฐ์ตัวต้นแบบเครื่องเข้ารหัสสัญญาณ RDSEncoder ซึ่งเป็นการ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศโดยเป็นความร่วมมือกับ NECTEC.เพื่อนำไปติดตั้งเพิ่มเติมให้กับสถานีวิทยุ อีก 11 เครื่อง

ระยะที่4 ปี พ.ศ. 2560-2562คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เล็งเห็นความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านเวลาของประเทศซึ่งเป็นโครงการซึ่ง มว. ผลักดันและพัฒนาระบบอยู่ จนในที่สุดกสทช. ได้มีการบรรจุในความสำคัญลงในประกาศราชกิจจานุเบกษา ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องแผนความถี่กระจายเสียงระบบวิทยุ เอฟเอ็ม โดยวันที่ 17พฤษภาคม 2560 หัวข้อ 3.7.2 (ข) ความว่า“ระบบส่งสัญญาณข้อมูลวิทยุ (Radio Data System: RDS)

กรณีที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลวิทยุกําหนดให้ระบบสงสัญญาณข้อมูลวิทยุเป็นไปตามมาตรฐานดังต่อไปนี้“3.7.2กําหนดให้ระบบส่งสัญญาณข้อมูลวิทยุต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังตอไปนี้ (ก) รหัสรายการ (Program IdentificationCode) กําหนดให้รหัสรายการต้องเป็นไปตามตารางที่ 4 (ข)เวลาและวันที่ (Clock-Time and Date)กําหนดให้เวลาและวันที่ต้องเป็นไปตามเวลาและวันที่ที่กําหนดโดย สถาบันมาตรวิทยาแหงชาติหรือเวลาและวันที่ที่มีการสอบย้อนกลับได้ทางการวัด(Measurement Traceability) ไปยังสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ”ขั้นตอนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเวลาของประเทศนั้นไม่ได้มีเพียงเท่านี้มว.ยังมีแผนสำหรับอนาคตอันใกล้ในการส่งต่อเทคโนโลยีต้นแบบผ่านการอบรมการใช้งานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดูแล และบำรุงรักษาเองได้ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคเอกชนนำไปต่อยอดเพื่อการผลิตใช้งานในเชิงพาณิชย์ต่อไป

About Post Author

เขียนความคิดเห็น

Copyright © Readspread.com ติดต่อฝ่ายข่าว Tel.089-922-7859 Email/[email protected] | Newsphere by AF themes.