Readspread.com

News and Article

มหิดล ยกระดับจิตใจเด็กปฐมวัย เน้นหลักสูตรตามแนวทาสมเด็จย่า

มหิดล ยกระดับจิตใจเด็กปฐมวัย เน้นหลักสูตรตามแนวทาสมเด็จย่า

ด้วยความร่วมมือระหว่าง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กับ
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง “หลักสูตรพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแนวพระราชดำริสมเด็จย่า”ถูกพัฒนาขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ได้เห็น การเป็นแบบอย่างที่ดีในการเลี้ยงดูพระราชบุตร พระราชธิดาให้เพียบพร้อมด้วยความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณสมบัติทางจิตใจทั้ง 10ประการ

(ความหนักแน่น/การให้/ความอดทนอดกลั้น/การทำความดี/ความซื่อตรง/ความอ่อนโยน/ความเพียร/ความไม่โกรธ/การไม่เบียดเบียน/การละวาง)ดังจะเห็นได้จากพระราชจริยวัตรอันงดงามที่ถ่ายทอดมายังในหลวงรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ม.มหิดล กล่าวว่าหลักสูตรปฐมวัยตามแนวทางสมเด็จย่าถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ 5 ทฤษฎี ได้แก่Neo-Humanist,จิตวิทยาเชิงบวก,พัฒนาการมนุษย์,พัฒนาการสมองและทฤษฎีการเรียนรู้ โดยเด็กในช่วงอายุ 0-6 ปีแรก (ปฐมวัย)
ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องได้รับการพัฒนายกระดับในเรื่องของจิตใจซึ่งหลักสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาในด้านของจิตใจคือความไว้ใจและความผูกพัน ซึ่งสองสิ่งนี้ เด็กจะสัมผัสได้จากคุณครูครอบครัวและคนรอบข้าง เมื่อใดที่เด็กเกิดความผูกพัน และไว้ใจขึ้น เด็กจะรู้สึกมีตัวตนและกล้าที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิด ของตนเองออกมาซึ่งความรู้สึกมีตัวตนนี้ (Sense of Self)ถือเป็นพื้นฐานของความมั่นคงทางจิตใจที่จะทำให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้จักเคารพความรู้สึกของตนเองและของผู้อื่น

กระบวนการเรียนรู้สำคัญที่จะทำให้เกิดคุณสมบัติทางจิตใจทั้ง 10ประการ คือ การเรียนรู้ผ่านความรู้สึก หรือ “Learning byFeeling” โดยครูจะใช้เทคนิคการสร้างวินัยในเชิงบวก และกระบวนการสอนที่ทำให้คุณสมบัติทางจิตใจทั้ง10 ประการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือเด็กๆสามารถรับรู้ถึงคุณสมบัติทางจิตใจนั้นและทำความเข้าใจได้ ทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตนเอง กฎระเบียบหรือความรู้ทางวิชาการทั้งหลาย จะถูกสอดแทรกอยู่ในกิจกรรม เพื่อใช้เป็นสื่อในการช่วยฝึกทักษะสมอง EF(Executive Functions) ให้เกิดการคิด ความรู้สึก และแสดงออกมาผ่านการกระทำตามคุณสมบัติทางจิตใจทั้ง10 ประการ ดังนั้น การพัฒนาทักษะทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านตัวตน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม
ด้านสติปัญญา และด้านทักษะสมอง EF อย่างเต็มที่ จะส่งเสริมให้เด็กๆเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงและมีความเชื่อมั่นและรู้จักคุณค่าในตนเอง และผู้อื่นซึ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่ต่อไป

“ถ้าเรามีโอกาสสร้างลูกในวันนี้ ควรจะสร้างตัวตนของเขาให้เขารู้สึกมีตัวตน รู้จักตัวเอง
และมีการตัดสินใจที่ดี ถ้าพ่อแม่ให้โอกาสให้ลูกได้ลองตัดสินใจ และอยู่เคียงข้างลูกเมื่อตัดสินใจผิด
และดีใจกับลูกเมื่อตัดสินใจถูก ก็จะทำให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง และพร้อมที่จะให้คุณค่าผู้อื่นเช่นเดียวกัน”ผศ.ดร.ปนัดดา กล่าวทิ้งท้าย

About Post Author

เขียนความคิดเห็น

Copyright © Readspread.com ติดต่อฝ่ายข่าว Tel.089-922-7859 Email/[email protected] | Newsphere by AF themes.