Kentang Bet Kentangbet https://adirach.com/ https://siputi.uinjambi.ac.id/ https://siamo.pmi.or.id/repository/ journals https://bkpsdm.serangkab.go.id/an-component/ https://repository.unwim.ac.id/ https://masyarakatdigital.uinjambi.ac.id/ https://epegawai.badanpangan.go.id/ekehadiran_bpn/ https://asset.inaba.ac.id/blog/ https://kecamatanbanjaran.bandungkab.go.id/public/pacar/ https://e-kes.bandungkab.go.id/ https://infolaras.bpbd.garutkab.go.id/ https://ffarmasi.unand.ac.id/pzeus/ http://118.97.39.130/ kentangbet kentangbet pacarzeus https://mbkm.inaba.ac.id/ https://api-ina-crc.kemkes.go.id/ https://pusatbisnis.uinjambi.ac.id/ https://journals.inaba.ac.id/ kentangbet slot gacor 2025 Kentangbet Kentangbet Kentangbet Kentangbet Kentangbet Kentangbet Kentangbet Slot Gacor Kentangbet Situs Gacor https://simas.unand.ac.id/storage/ https://perundungan.kemkes.go.id/kb/ Kentangbet KentangBet Login
โรคข้อเข่าเสื่อม - Readspread.com

Readspread.com

News and Article

โรคข้อเข่าเสื่อม

กินแคลเซียมไม่ช่วย! นักวิจัยไทยสุดยอด ใช้แสงซินโครตรอนหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้การรักษาถูกจุด

เข้าใจใหม่ !  นักวิจัยไทยสุดยอดใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม  โรคยอดฮิต 1 ใน 3 ที่คนไทยป่วยมากสุด ผลวิจัยชี้ชัดข้อเข่าเสื่อมเกิดจากโปรตีนคอลลาเจนน้อยลงตามอายุที่มากขึ้นฉะนั้นการกินแคลเซียมไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดอย่างแท้จริง ความเข้าใจผิดที่มักพบบ่อยๆ เกี่ยวกับแคลเซียมคือแคลเซียมไม่ได้เป็นยาที่แนะนำให้ใช้ในกรณีเพื่อรักษาหรือป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อมแต่แคลเซียมเป็นยาที่มีประโยชน์ในกรณีใช้รักษาหรือป้องกันโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดได้มากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น จากผลวิจัยซินโครตรอนนำไปสู่การผลิตยารักษาโรคเข่าเสื่อมได้

พ.ท.นพ.บุระ  สินธุภากร  อาจารย์สำนักแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า
“จากสถิติของผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในประเทศไทยของมูลนิธิโรคข้อ พบว่า ในปี 2549ไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี  ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพประมาณ 1 ใน 3
หรือคิดเป็นร้อยละ 34.5-45.6 ของประชากรทั้งประเทศ จากเดิมโรคข้อเข่าเสื่อมจะพบในผู้สูงอายุ
แต่ทุกวันนี้พบผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยลง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมหลายๆ อย่างประกอบกันสำหรับปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมคือ
  1.อายุ ในผู้ที่อายุมากจะเป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา
2.น้ำหนักเราพบว่าผู้ป่วยที่เป็นข้อเข่าเสื่อมมักจะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
3.การใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการยกของหนักมากๆ หรือการขึ้นลงบันได โดยไม่จำเป็น และท่านั่งต่างๆ ที่เราต้องงอเข่ามาก
4.เคยมีการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่ามาก่อน เช่น กระดูกหัก เส้นเอ็น หรือหมอนรองข้องเข่าฉีกขาด”ข้อเข่า ถือเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อที่รับน้ำหนักของร่างกายข้อเข่าจะประกอบไปด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกลูกสะบ้าบริเวณส่วนปลายของกระดูกจะมีกระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่เป็นผิวข้อเข่าหน้าที่กระดูกอ่อนหรือกระดูกผิวข้อจะมีหน้าที่รับน้ำหนัก ช่วยให้การขยับของข้อจะเรียบและลื่น
สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อจากการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์และเนื้อเยื่อหรืออาจะเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณข้อการบิดหมุนข้อหรือแรงกระทำซ้ำ ๆ โดยสัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจะพบมากในผู้สูงอายุมากกว่า 1 ใน 3อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

พ.ท.นพ.บุระ  กล่าวอีกว่า “สำนักแพทย์ศาสตร์และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) จึงร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนโดย ดร.กาญจนา ธรรมนู และ ดร.พินิจ กิจขุนทด
นักวิจัยของสถาบันฯ  ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคแสงซินโครตรอน IR-microspectroscopyซึ่งเป็นแสงย่านอินฟราเรดที่มีขนาดเล็ก ความเข้มสูงและใช้เทคนิค XAS และ X ray fluorescenceในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์ประกอบทางชีวเคมีในตัวอย่างกระดูกโดยทำการวิเคราะห์กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกใต้ผิวข้อ เพื่อทำการศึกษาพยาธิสภาพของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจากการตัวอย่างข้อเข่าทั้งหมด 6 รายเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์ประกอบทางชีวเคมีในตัวอย่างกระดูก เช่น โปรตีนคอลลาเจนโปรติโอไกลแคน แคลเซี่ยม และ ฟอสฟอรัส ในช่วงอายุที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบกับสามช่วงอายุ ประกอบด้วย 20-30 ปี,40-50 ปี และ 70-80 ปีเทคนิคดังกล่าวสามารถตรวจสอบเนื้อเยื่อกระดูกในส่วนต่างๆ ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage)กระดูกผิวใต้ข้อ (Subchondral bone) พบว่า ในช่วงกลุ่มอายุ 70-80 ปีมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนโครงสร้างของโปรตีนในบริเวณกระดูกอ่อน(Cartilage) อย่างชัดเจนซึ่งมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการย่อยสลายของโครงสร้างโปรตีนคอลลาเจนเมื่ออายุมากขึ้นและมีการเสื่อมของโครงสร้างแคลเซียมในกระดูกใต้ผิวข้อซึ่งเป็นการพิสูจน์แล้วว่าการกินแคลเซียมไม่ช่วยเรื่องการเสื่อมของข้อ นักวิจัยคาดว่าการศึกษาในลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้สามารถพิสูจน์ทราบสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมอันจะนำมาซึ่งวิธีการรักษาใหม่  ๆ โดยการใช้สารเคมีเพิ่มเติมให้ผู้ป่วยเพื่อทดแทนสารที่ขาดพร่องไป  หรือการใช้ยารักษาให้ตรงกับสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ด้วย”

About Post Author

เขียนความคิดเห็น

Copyright © Readspread.com ติดต่อฝ่ายข่าว Tel.089-922-7859 Email/Yothin.Yoojongdee@gmail.com | Newsphere by AF themes.