Readspread.com

News and Article

“อองเทรอเพรอเนอ” (Entrepreneur)

อยากเป็นนายตัวเอง ก็ต้องหาตัวเองให้เจอ!!!เปิดความคิด ฟังคนรุ่นพี่ ชี้แนะ บันไดสู่การเป็น “อองเทรอเพรอเนอ” (Entrepreneur)

        คนรุ่นใหม่อาจจะเก่งไปเสียทุกอย่าง… ก็จริง!!แต่เชื่อว่าเมื่อถามถึงความต้องการแห่งชาติ เช่น  โตขึ้นอยากเป็นอะไร , อาชีพอะไร ที่คิดว่าทำจนแก่ตายก็ไม่เบื่อ!!หลายคนอาจสตั๊นท์ อึ้ง ตอบไม่ได้ คิดไม่ถึง กันเยอะเลย สะท้อนว่าแม้ปัจจุบันสังคมจะกลายเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีที่ก้าวไกล จะสามารถพัฒนา “ตัวตน” ของเด็กยุคใหม่ได้ แต่ละคนถึงไม่ได้ฉายแววอย่างชัดเจนแต่แรก
นาทีนี้ ไม่ผิด ถ้าคุณไม่รู้ว่า คุณรักอะไร? ชอบอะไร?หรือต้องการทำงานอะไรในอนาคตกันแน่  เพราะชีวิตจริงก็ยังมีอีกหลายคนที่เพิ่งจะค้นพบและรู้จักตัวเอง แต่ก็ให้คิดคิดเล่นๆ อีกมุมว่า ว่าจะดีสักแค่ไหน ถ้าเรารู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียแต่เนิ่นๆ เพราะบางที “เวลา” อาจเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ที่ไม่มีใครอยากเสียมันไปฟรีๆ ดังจะเห็นได้ว่า คนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละวิชาชีพ เขามักเจอตัวเองอย่างเข้มข้นตั้งแต่วัยเด็ก และสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายได้ตั้งแต่วัยรุ่น และน่าอิจฉาที่พวกเขาไม่มีวันยอมเกษียน เพราะอยากทำในสิ่งที่เขารักและเขาชอบไปตลอดนั่นเอง

อ่านถึงบรรทัดนี้แล้ว คงรู้ว่าการ “ค้นพบที่ยิ่งใหญ่”  ก็คือ “การค้นพบตัวเอง”ทั้งหมดเป็นข้อมูลบางส่วนจากงานสัมมนา “เตรียมความพร้อมบัณฑิตก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0” โดยวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยศิลปากร  (SUIC)จัดแนะนำ 6 หลักสูตรใหม่ สองใบปริยญาโดยร่วมกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลก  จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อโอกาสและความพร้อมในการทำงานทั้งในและต่างประเทศ  ภายในงานได้เชิญ  เหล่า Entrepreneur (อองเทรอเพรอเนอ)   แปลตามตัวคือ  ผู้ที่ประกอบการหรือสร้างธุรกิจขึ้นมาและยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หรือ เจ้าของธุรกิจตัวเอง  มาถ่ายทอดประสบการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัย และการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือค้นพบตัวเอง อาทิ กิตตินันท์ วงศ์วาสิน ( กิจ) เจ้าของธุรกิจร้านเลเซอร์ ,คุณบอส-ปรัตถกร บุญทิตตานนท์ เจ้าของธุรกิจบริษัท Team Parallel, คุณกัส-กฤณโพธิปิติเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร ก๋วยเตี๋ยวเรือ-คลองกรุง,คุณเบลล์-เลลาณี ทศพร

ลองเปิดฉากถามความเห็น ทำไมคนรุ่นใหม่ นิยมเป็นนายตัวเองกันมากขึ้น? คุณบอส-ปรัตถกร “อาจจะเป็นเพราะโลกยุคใหม่ เต็มไปด้วยโอกาสหลายอย่าง และสำหรับคนที่พร้อมหรือศึกษามาดีแล้ว เกิดอาการตื่นเต้น อยากเรียนรู้อยากลอง และวิชาความรู้หรือข้อมูลถ้าขวนขวายก็มีอยู่มากนอกนห้องเรียน อีกอย่างการได้ฝึกงาน ลองทำจริง แล้วทำได้ทำให้คนรู้สึกว่าอยากลองเลย ไม่อยากเสียเวลา” คุณกัส-กฤณ “คนอื่น ผมไม่รู้ แต่ผมเป็นคนสมาธิสั้น ชอบทำอะไรเป็นของตัวเอง ถ้าไม่สนใจอะไร ก็จะไม่อยู่กับสิ่งนั้นนาน คิดว่าทำงานทั่วไปคงยาก ทำธุรกิจของตัวเองดีกว่าแต่ก็ไม่ใช่ว่าทำตามสบาย เปิดไปวันๆ   เราก็มีเป้าหมายของเราแหล่ะ เพราะการทำธุรกิจของตัวเอง  ได้ฝึกอะไรหลายอย่าง มีหน้าที่หลายส่วนมาก ไม่ดูไม่ได้ บางทีก็ต้องทำเอง เป็นการฝึกเราในตัว ให้เราไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่จะทำ ผมว่าคนรุ่นใหม่ อยากรู้ อยากลอง อยากรับผิดชอบตัวเองไม่ชอบให้ใครบังคับ แต่สุดท้าย เมื่อมาทำอะไรของตัวเองแล้ว ระบบธุรกิจก็บังคับเราอยู่ดี ให้ต้องแอ๊คทีฟเรื่อยๆ ดังนั้นกับคำถาม การเป็นนายตัวเอง ขณะอายุยังน้อย มี่ข้อดีมากๆนะครับ”  กิจ-กิตตินันท์  “ผมว่าแต่ละคน มีความคิดเป็นของตัวเอง มีไอเดีย แล้วก็มีไฟ อยากที่จะทำ อย่างผมเริ่มธุรกิจร้าน เลเซอร์เกม แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์  เพราะรู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว อยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้ทุกวัน แล้วก็หาความรู้ อัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ ได้ไม่เบื่อ ซึ่งตรงนี้เราก็เอามาเป็นไอเดียพัฒนาร้านด้วย” ว่ากันว่า70 /30 คืออัตราของบริษัทฯ ที่เปิดใหม่ แล้วอยู่ได้ในสมรภูมิธุรกิจ ซึ่งวัดกันที่ความอยู่รอดยาวสามถึงห้าปี  

ตรงนี้มีวิธีการใดที่ทำให้บริษัทฯ ไปถึงจุดนั้น?  คุณบอส-ปรัตถกร “ต้องไม่หยุด ไม่ประมาท เทรนด์แป๊ปเดียว เปลี่ยน ไม่หยุดอย่าหยุดตัวเอง  อย่าตายใจ อย่าเป็นน้ำเต็มแก้ว เทรนด์อะไรมาเร็ว แต่อะไรที่จะอยู่นาน ผมจะใช้วิธีสอบถาม เพื่อจะได้ข้อมูลเยอะๆ แชร์ไอเดียกัน บางทีมีข้อมูลที่เราไม่รู้ หรือบางอย่างเราคิดไม่ถึง อย่าคิดคนเดียวอันตราย” กิจ-กิตตินันท์  “อย่าว่าแต่ธุรกิจ สังคมเองก็เปลี่ยนแปลงทุกวัน ฉะนั้เราต้องเรียนรู้   ตลาดไปถึงไหนแล้ว อย่างผมทำสื่อดิจิตอลที่พัฒนาไปเรื่อยๆ เลย ตอนนี้ก็กำลังดิวิลอป เทคโนโลยีวีอาร์ พยายามก้าวเข้าไปตรงนั้นให้ได้เร็ว แรง แล้วก็ลึก ขณะเดียวกัน การตลาดก็ต้องศึกษา เรียนรู้ทุกอย่างไปในตัว แบ่งเวลาไม่ประมาท” คุณกัส-กฤณ“ผมยกความดีความชอบให้กับการเรียนโอเปอเรชั่น สอนเราจัดการทุกอย่าง รวมถึงการฝึกงานเยอะๆ ทำให้ได้เรียนรู้ทั้งวงจร ทั้งระบบ พอเข้าใจและได้เรียนรู้ทุกอย่างในภาคปฏิบัติการแล้ว ภาคบริหารก็ไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่นั่นอาจใช้ได้กับผม ที่ขนาดธุรกิจไม่ใหญ่มากนะครับ ถ้าใหญ่ ผมว่าประสบการณ์คงสอนเราเอง แต่ผมคิดว่าอย่างหนึ่งคือ อยากทำทุกอย่างด้วยความเอ็นจอย แล้วก็บาลานซ์ ถ้าความผิดพลาดจะเกิดขึ้นก็ต้องยอมรับ เพราะเป็นเรื่องไม่คาดฝัน”คุณเบลล์-เลลาณี  “เบลล์ ขอยกเป็นตัวอย่างสำนวนหนึ่งเรื่องว่ายน้ำว่ายช้าๆ ค่อยไป แล้ววันหนึ่งจะไปได้ว่า แต่ถ้าว่ายไม่เป็น ไม่ว่าจ่ะว่ายอย่างไร เราก็จม คือทุกอย่างต้องเรียนรู้ ฝึกฝน ลองผิด ลองถูก ค่อยเป็นค่อยไป ไม่รอด ไม่แปลก แต่ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเรียนรู้ ศึกษาให้ได้ว่าทำอย่างไร ให้ไปถึงตรงนั้น  เบื้องต้นก่อนทำอะไรศึกษาให้เข้าใจจริงการมีพื้นฐานที่แน่นไม่มีทางเป็นเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์แน่นอน”

ถึงตรงนี้แต่ละคนเด่นชัดมาก แต่ถ้าลองย้อนกลับไป ค้นพบตัวเองได้อย่างไร และมีวิธีการใด ที่ทำให้หาตัวเองเจอ? ทุกคนบอกว่า “ทุกวันนี้ มีคำถามนี้อยู่!!” ก่อนจะหัวเราะ แล้วบอกล้อเล่น  กิจ-กิตตินันท์   “นึกก่อนว่าเราเก่งด้านไหน ชอบทำอะไร แล้วถ้าเราทำแล้ว จะไปต่อยอดอะไรได้บ้าง บางคนเที่ยวไปวันๆ ทำให้ รู้ตัวเองช้า ลองหาที่รัก ที่ชอบ แล้วไปต่อยอดเอา “  คุณบอส-ปรัตถกร “สมัยนี้โลกเปิดกว้าง ชอบทำอะไร ถ้ามีที่ให้ทำ ทำหมด หมั่นศึกษา ยิ่งศึกษา ยิ่งค้นพบ ตอนแรกชอบถ่ายรูป ทำวิดีโอ มาร์เก็ตติ้งด้วย และถ้ามีโอกาส เรียนไป ทำงานไปก็ดีครับ ค้นพบตัวเองได้เร็ว”  คุณกัส-กฤณ “จากประสบการณ์ตร ตอนปีสอง ผมอยากออก อยากซิ่ว เพราะรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ตอนนี้คิดยังไงไม่รู้ โชคดีได้ครอบครัว เพื่อน เตือนสติ และเราก็มาคิดเองว่า  ไม่อยากย้อนกลับไปเสียเวลาตอนนั้นจำได้ เพื่อนๆ บอกคิดจะทำอะไร ให้รอบคอบ ใจเย็น อย่ารีบร้อน โลกนี้ไม่มีทางลัดหรอก ทุกอย่างก็ต้องอาศัยเวลา บางคนเรียนมา ทำงานมาสามสี่ปียังไม่ชอบเลย เวลาเพียงเท่านี้ อย่าเพิ่งตัดสินมัน แล้วผมก็เรียนต่อ แล้วก็ได้รู้ว่าชอบสาขาที่เรียนมากๆหลักๆ คือให้เวลา” คุณเบลล์-เลลาณี     “อาจจะผู้หญิงนิดหนึ่งนะคะ เบลล์ใช้ไดอารี่ค่ะ ชอบเขียน ตอนหลังก็เอาสังเกต ดูว่าตัวเองชอบอะไร แล้วก็ปรึกษาคุณแม่ แม่บอกเรียนอะไรก็ได้ลูก  ให้มีความสุขตลอดสี่ปี จบไปไม่ได้หมายความว่าต้องทำ แค่อยากให้มีความสุขกับทุกๆ วัน แนะนำไปแล้วหนูไม่อยากตื่นมาเรียน แม่ก็ไม่แฮปปี้ ไม่มีใครมีความสุขอีกยอ่างคือ ใจเย็นๆ คอยสังเกตว่า แต่ละวัน ใช้เวลากับอะไรไปมากที่สุด
คมคิดที่คมคาย ได้มาจากการตกผลึก ท้ายสุดต้องขอหยิบคำพูดผศ.ดร.สมพิศ ขัตติยพิกุล  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร  (SUIC) ที่กล่าวในงานสัมมนาว่า “เครื่องมือ” ยิ่งพัฒนาไปไกลเท่าไหร่ คนเราในฐานะผู้ควบคุม ก็ต้องพัฒนาตนเองให้รุดหน้าไปเท่านั้นหรือหากใครมีศักยภาพ วิ่งไปได้ไกลกว่าถึงขั้น  “ควบคุม” จึงเรียกได้ว่าเป็นระยะปลอดภัย เป็นบุคลากรที่พร้อมสำหรับการทำงานทั้งในและต่างประเทศ  แม้ระบบการศึกษาในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน  แต่ความรู้ด้าน“เทคโนโลยี” และ “ภาษาอังกฤษ” จะเป็นตัวคัดเกรดได้อย่างมาตรฐาน … อ่านแล้ว รู้สึกอยากให้ไทยแลนด์  4.0 วิ่งเข้ามาเร็วๆ สักที

About Post Author

เขียนความคิดเห็น

Copyright © Readspread.com ติดต่อฝ่ายข่าว Tel.089-922-7859 Email/[email protected] | Newsphere by AF themes.