RoboCup Asia-Pacific 2017
ไทยเป็นเจ้าภาพ เปิดเวทีแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติครั้งแรกของเอเชียแปซิฟิคRoboCup Asia-Pacific 2017ทีมนักศึกษา ม.มหิดล คว้ารางวัลชนะเลิศ จากงานแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ
ปิดฉากลงเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับงาน “Thailand Robotics Week 2017และการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ RoboCup Asia-Pacific 2017 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-18 ธันวาคม 2560 ณศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกจาก International RoboCup Federation
ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวิชาการหุ่นยนต์ระดับนานาชาติครั้งแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยมหาวิทยาลัยมหิดลคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท เอ็น.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล อีเว้นท์ จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยและInternational RoboCup Federation ซึ่งมีสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB)สนับสนุนการจัดงาน อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาล อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงวิทยาศาสตร์ และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธานเปิดงาน
ภายในงานมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมมากกว่า 1,200 คน จาก 25 ประเทศทั่วโลก มีทีมร่วมแข่งขันกว่า 130 ทีมซึ่งงานนี้ทีมนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันในประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. รางวัลชนะเลิศ RCAP CoSpace Logistics Challenge (Major league) ประเภท Technical challenge
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง RCAP CoSpace Logistics Challenge (Major league) ประเภท Grand
challenge
3. รางวัลชนะเลิศ RCAP Robotics Startup and Pitching Forum
นายภัทรพงษ์ สว่างใจ, นายสรวิชญ์ เลิศวิไลกุลนที, นายทัตดนัยแก้วกาญจนเศรษฐ์, นางสาวพวงแก้ว ต่ายสกุลทิพย์ และนางสาวอารดาศรีประเสริฐ ทีมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลชนะเลิศ RCAP CoSpaceLogistics Challenge (Major league) ประเภท Technical challenge
นายพิสิฐ จิตวิริยนนท์, นายเขมรัตน์ เหลืองเมฆา, นายธนเดช คูหาวาสินีและนางสาวพิรญาณ์ วิดจายา ทีมนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง RCAP CoSpace Logistics Challenge(Major league) ประเภท Grand challengeสำหรับการแข่งขัน RCAP CoSpace Logistics Challengeมีเป้าหมายเพื่อให้มีการใช้งานหุ่นยนต์ในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการทำงานและโรงงานอัจฉริยะซึ่งเป็นการแข่งขันที่เหมาะสำหรับทั้งนักเรียนในระดับประถม มัธยม และมหาวิทยาลัยโดยการแข่งขันนี้ได้พัฒนามาจากการใช้ไอเดียและคอนเซปต์ของ RoboCup@Industry ซึ่งมีการทำงานในแบบเชื่อมต่อ RealWorld และ Virtual Space แต่ละทีมจะต้องสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่ และพัฒนาโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ของจริงโดยจะมีแขนกลคอยหยิบสิ่งของและนำใส่หุ่นยนต์เคลื่อนที่ ซึ่งหุ่นยนต์เคลื่อนที่มีหน้าที่ส่งสิ่งของไปยัง Teleportion Stationและ Teleport ส่งของนั้น ๆ ไปยัง Virtual Space เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในโรงงานอัจฉริยะ
นอกจากนั้นไฮไลท์ของงานในปีนี้ คือมีการจัดงานแข่งขันด้านสตาร์ทอัพและการนำเสนอผลงาน (Robotics StartUp ; Pitching Forum) ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานไอเดียที่เกี่ยวข้องกับการนำหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ (AI)หรือ IoT (Internet of Thing) เข้ามาแก้ปัญหาหรือพัฒนาศักยภาพด้านใดด้านหนึ่งของการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ และเข้าร่วมแข่งขัน Pitching กับนักลงทุน และ Venture Capitalจากทั้งในและต่างประเทศ
นายดิลก ปืนฮวน นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคว้ารางวัลชนะเลิศ RCAP Robotics Startup and Pitching Forum