5 หัวใจของเนื้อหา จุดเริ่มต้นที่ผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กเล็กต้องรู้
1. กระตุ้นจินตนาการและ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ( creative thinking & imagination) : มีเนื้อหาที่เปิดโลกจินตนาการ ให้เด็กฝึกคิดในแง่มุมใหม่ ยืดหยุ่นและเปิดมุมมองด้านความคิดสร้างสรรค์ อาจเพิ่มทักษะการสังเกต หรือตั้งคำถามในเชิงสร้างสรรค์…. เรียกง่ายๆว่า กระตุ้นต่อมเอ๊ะ!
2.พัฒนาทักษาทางสังคม (social skills) : ช่วยเพิ่มทักษะที่สำคัญในโลกยุคใหม่นี้ ทำให้เด็กๆ มีทัศนคติที่ดี มีพลังบวก การมีน้ำใจ ช่วยเหลือเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัว ทำให้เด็กๆ เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มีความเข้าอกเข้าใจ และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น
3.สะท้อนและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ( relate daily life) เพื่อให้เด็กเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ของเนื้อหาได้ง่าย เช่นเรื่อง ปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ที่เด็กๆต้องเจอในชีวิตประจำวัน สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาการแก้ปัญหาอุปสรรคในเชิงบวกให้เด็กๆ ไปด้วยได้
4.ส่งเสริมความเข้าใจ และความภูมิใจในตัวเอง (self esteem) การรู้จักรักและภาคภูมิใจในตนเองเป็นพื้นฐานสำคัญของความมั่นใจ การตัดสินใจ ทำให้เด็กมีความเข้าใจโลกและมีความสุข มีสุขภาพจิตที่ดี อาจมีเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึก การรู้จักเคารพในสิทธิของตัวเองและผู้อื่น โดยเลือกเนื้อหาที่เข้าใจง่ายเหมาะกับช่วงวัย
5.สอดแทรกบริบทแวดล้อมให้เหมาะกับสังคมไทย (cultural context) สามารถสอดแทรกเรื่องราวของบริบทสังคมไทยเข้าไป ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เรื่องวัฒนธรรม วิถีของสังคมไทยอย่างง่ายๆ เช่น การเคารพผู้ใหญ่ การปฏิบัติตัวอย่างมีมารยาทในสังคม
ซึ่งหลักการ 5 ข้อนี้ จะช่วยให้มีจุดตั้งหลักในการคิดเนื้อหา ผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กก็จะมีแผนที่ที่ชัดเจน ที่จะสร้างสื่อเด็กที่ปลอดภัย สร้างสรรค์เหมาะกับเด็กๆ แต่ละช่วงวัยได้ แต่รับรองว่าเนื้อหาไม่ได้มีแค่นี้ เพราะกระบวนการพัฒนาผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กยังมีเนื้อหาต่างๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายให้เราได้ติดตามกันต่อไป รับรองว่าสนุกและได้ความรู้อัดแน่นอย่างแน่นอน
สนใจติดตามความรู้ด้านการพัฒนาสื่อสารสรรค์ได้ที่เว็บไซต์ กองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์